เครื่องมือวิทยาศาสตร์

มาทำความรู้จักกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์แต่ละชนิดกันเถอะ

กราบสวัสดีท่านผู้มีความสนอออกมสใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นในวันนี้กันนะครับ หากว่ากันด้วยเรื่องของวิทยาศาสตร์แล้วหล่ะก็…เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราทั้งสิ้นที่สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยศาสตร์เกือบทั้งหมดเลย(ยกเว้นเรื่องผี…นะครับ) เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านที่สละเวลาเข้ามาพบกับบทความนี้ ไปทำความรู้จักกับ ‘เครื่องมือวิทยาศาสตร์เบื้องต้น” ว่ามีอะไรบ้าง? แต่ละอย่างใช้ทำอะไร? แล้วจะต้องทำความสะอาดแบบไหน? ให้กับทุกๆ ท่านได้ทราบกันครับ จะมีอะไรบ้างนั้น… ไปดูกันเล้ยย!!!

2 ประเภทเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ควรรู้จัก

1. ประเภทเครื่องแก้วที่ใช้งานทั่วไป

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบรรจุสารเคมี ถ่ายเทสารละลาย อุปกรณ์ประกอบการทดลอง เช่น การต้ม  ละลาย ระเหย ตกตะกอน เป็นต้น และบางชนิดอาจใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวที่บรรจุโดยปริมาณ อย่างไรก็ตามภาชนะบางส่วนถึงแม้จะเรียกเครื่องแก้ว แต่ก็มีบางชนิดที่ทำจากพลาสติกทนสารเคมีก็มีเช่นกัน

ตัวอย่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์จำพวกเครื่องแก้ว

●หลอดทดลอง (test tube)

●บีกเกอร์ (beaker)

●ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask)

●กรวยกรอง (funnel)

●กระจกนาฬิกา (glass watch)

2.เครื่องแก้วจำพวกใช้วัดปริมาตร

เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการความแม่นสูง  คุณลักษณะของเครื่องแก้ววัดปริมาตร จะประกอบด้วย

– มีขีดกำหนดปริมาตร (graduation marks) หรือ ข้อความกำหนดระบุปริมาตรที่วัดได้ที่แน่นอน

– มีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดในการวัดที่ยอมรับได้ (Tolerance limit)

●กระบอกตวง (measuring cylinder)

●ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask)

●ขวดวัดความถ่วงจำเพาะ (specific gravity bottle)

●บิวเรต (burette)

●ปิเปต (pipette)

หลักการใช้เครื่องมือวิทยาศาตร์ที่ถูกต้องและปลอดภัย

1)  อ่านคู่มือความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

2)  ตรวจสอบการใช้เครื่องมือ ต้องเป็นไปตามลักษณะการใช้งานที่แท้จริงของเครื่องมือนั้นๆ

3)  ศึกษาตำแหน่งของอุปกรณ์ช่วยเหลือ และวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อสัมผัสกับสารเคมี

4)  รู้ขั้นตอนและวิธีการกำจัดของเสียที่ถูกต้อง

5)  ตรวจสอบว่าภาชนะบรรจุสารเคมีแต่ละตัว มีป้ายและฉลากที่ถูกต้องหรือไม่

6)  ไม่ควรปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการโดยลำพัง โดยเฉพาะกรณีที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย

7)  แต่ตัวให้ถูกระเบียบสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่พอดีตัว ติดกระดุมตลอดเวลารวมทั้งสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามความเหมาะสมทุกครั้งขณะทำการทดลอง

8)  ห้ามมิให้นำอาหาร เครื่องดื่ม เข้ามาเก็บหรือรับประทานในห้องปฏิบัติการ

วิธีทำความสะอาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง

การทำความสะอาดเครื่องแก้ว มีหลายขั้นตอนด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งสกปรกหรือสิ่งเจือปน ซึ่งหากมีคราบสิ่งสกปรกสามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำยาล้างจานและน้ำ โดยล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ตามด้วยล้างด้วยน้ำประปา สุดท้ายกลั้วด้วยน้ำกลั่นและตากแห้ง หรือถ้ามีเศษวัสดุติดอยู่ทีแก้ว ก็ให้ใช้แปรงหรือผ้าเช็ดสิ่งสกปรกนั้นออกก่อน แล้วจึงทำการล้างตามปกติ

ในกรณีที่เครื่องแก้วน้ำทำความสะอาดได้ยาก เช่น ปิเปตต์ขนาดเล็ก ให้ล้างด้วยสารละลายสารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดแล้วล้างด้วยน้ำกลั่นประมาณ 3 ครั้ง เพื่อกำจัดสารละลายที่ติดอยู่ในเครื่องแก้วนั้น ซึ่งสามารถทำตามได้ดังนี้

– ตั้งเครื่องแก้วทิ้งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง อย่านำใส่ในเตาอบที่ร้อน ผิวของเครื่องแก้วที่เปียกน้ำจะดูเรียบเมื่อเครื่องแก้วนั้นสะอาด แต่ถ้ามีลักษณะเป็นหยดน้ำแสดงว่ายังสกปรกต้องนำไปล้างใหม่  

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “เครื่องมือวิทยาศาสตร์เบื้องต้น” พร้อมกับวิธีการปฏิบัติตัวในแลปกับการล้างเครื่องมือ ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่าน เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ หากท่านผู้อ่านเป็นผู้ที่สนใจในวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานอยู่แล้วหล่ะก็…ลองศึกษาหาความรู้ด้านอื่นๆ เพิ่มด้วยนะครับ รับรองว่าจะเพลิดเพลินอย่างหยุดไม่อยู่เลย

About the author