เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา

หลักการใช้เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาตรวจวัดสภาพอากาศ

การใช้เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาตรวจวัดสภาพอากาศมีความสำคัญขั้นตอนหนึ่งต่อการพยากรณ์อากาศ สถานีอุตุนิยมวิทยา แต่ละสถานีทั่วโลกที่อยู่ภายใต้หน่วยงานอุตุวิทยา ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก จะทำการตรวจอากาศในช่วงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้เป็นสากล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จากการตรวจอากาศในเวลาที่ตรงกันเพื่อสามารถนามาประกอบการพิจารณาเพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศโดยจะทา การตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาพื้นฐานจากสถานีตรวจอากาศเช่น ความกดอากาศเหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ ลม ปริมาณเมฆในท้องฟ้า ฝน และข้อมูลอื่น ๆ สำหรับเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาในการตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์อากาศ จะเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน 

สถานีอุตุนิยมวิทยาแต่ละแห่งจะต้องติดตั้งเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาทำการตรวจวัด ดังนี้

  • เครื่องวัดบารอมิเตอร์ (Barometer) ใช้ตรวจวัด ความกดอากาศ 
  • เครื่องวัดทิศทางลม (Wind vane) และเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ใช้ตรวจวัด ลม 
  • เครื่องวัดเทอร์มอมิเตอร์ชนิดสูงสุดต่ำสุด (Max-min thermometer) ใช้ตรวจวัด อุณหภูมิอากาศ 
  • เครื่องวัดไฮโกรมิเตอร์ชนิดกระเปาะเปียกกระเปาะแห้ง (Wet dry bulb hygrometer) ใช้ตรวจวัด ความชื้นสัมพัทธ์
  • ชนิดและปริมาณเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้า ตรวจวัดด้วยสายตา เรดาร์ และดาวเทียม  
  • หยาดน้ำฟ้า ตรวจวัดด้วยอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำฝน 
  • ทัศนวิสัย ตรวจวัดด้วยสายตา

ประเภทของเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในระบบการพยากรณ์อากาศ

  • เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้น 

สถานีอุตุนิยมวิทยาแต่ละแห่งจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอากาศผิวพื้น โดยจะทำการตรวจวัดอากาศตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ซึ่งจะมีเวลาหลักของการตรวจวัด คือ 07.00 น. (00.00 UTC) และเวลา 19.00 น. (12.00 UTC) โดยในระหว่างเวลาเหล่านี้ อาจมีการตรวจวัดเพิ่มเติมได้ตามที่กำหนดไว้เพื่อความเหมาะสม 

  • เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน 

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศบนพื้นผิว มีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศชั้นบนของโทรโพสเฟียร์ โดยใช้บอลลูนติดตั้งอุปกรณ์ตรวจอากาศ ได้แก่ ทัศนวิสัย อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วลม ปริมาณและชนิดเมฆ โดยข้อมูลเหล่านี้ซึ่งรายงานโดยนักบิน

  • เครื่องมือตรวจอากาศพิเศษ 

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจวัดปรากฏการณ์หรือลักษณะอากาศที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยเสริมในการวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ ได้แก่ เรดาร์ตรวจอากาศ และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาสำหรับในการตรวจอากาศทั้งบนพื้นดิน พื้นน้ำ ในอากาศและอวกาศ จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันในการพยากรณ์อากาศ ในระบบเครือข่าย

About the author